วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ความแตกต่างระหว่าง "การทำงานกับการทำเงิน"






ความแตกต่างระหว่างการทำงานกับการทำเงิน 

มีหลายครั้งที่คนเรา ไม่สามารถแยกการทำงานออกจากการทำเงินได้ เนื่องจากงานกับเงิน มีลักษณะที่คล้ายคลึง เหมือนพี่น้องพ่อเดียวกัน แต่อาจจะเกิดกันคนละแม่ วิสัยทัศน์จึงค่อนข้างจะต่างกัน ทำให้เส้นทางชีวิตดำเนินกันไปคนทิศทาง ( คนหนึ่งจน อีกคนรวย ) 
ในหัวข้อนี้ เราจะมาทำการวิเคราะห์เจาะลึกความแตกต่างระหว่าง การทำงานกับการทำงเงิน เพื่อที่เราจะได้นำไปเป็นแนวทางในการศึกษา 

การทำงาน...คือการก้มหน้าก้มตาทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่ง "เงิน" แต่จะได้หรือไม่นั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่สิ่งที่ได้มาแน่นอนก็คืองาน ได้ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า วันเวลาที่เสียไป และได้ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาด คือความไม่รู้หรือไม่เต็มใจทำ "เรียกว่าการทำงาน" 

การทำเงิน...คือการก้มหน้าก้มตาทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่ง "เงิน" และสิ่งที่ได้แน่นอนคือเงิน เพราะทำเงินก็ต้องได้เงิน แต่มีข้อแม้อยู่ว่า 
1.สิ่งที่ทำอยู่นั้น...ต้องเป็นสิ่งที่รัก 
2.สิ่งที่ทำอยู่นั้น...ต้องไม่ใช่สิ่งที่ผิดกฏหมาย 
3.สิ่งที่ทำอยู่นั้น...ต้องไม่ใช่สิ่งที่ผิดศีลธรรม 

1.ถ้าเราทำในสิ่งที่รักหรือเต็มใจ... เราก็จะทำสิ่งเหล่านั้นออกมาได้ไม่ดี แล้วค่าตอบแทนที่ได้มาก็จะสมน้ำสมเนื้อกับสิ่งที่ทำลงไป คือไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย อาจจะทำให้เหน็ดเหนื่อยหรือสูญเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ จึงไม่สามารถจะเรียกสิ่งที่ทำอยู่นั้นว่า "เป็นการทำเงิน" ไม่ได้ 

2.ถ้าเราทำในสิ่งที่ผิดกฏหมาย...ถึงแม้เราอาจจะมีเงินทองกองพะเนิน มีเงินร้อยล้านพันล้านอยู่เต็มบัญชี ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะมีโอกาสได้ใช้เงินทั้งหมดนั้นอย่างเต็มที่เต็มกำลัง เพราะถึงยังไง เมื่อทำผิดกฏหมาย สมบัติทั้งหมดก็จะถูกอายัดหรือยึดไว้ เป็นต้น 

3.ถ้าเราทำสิ่งที่ผิดศีลธรรม...ก็จะมีวิบากกรรมตามมาส่งผล ทำให้กลายเป็นคนที่อับจนข้นแค้น ไม่มีอันจะกิน ไม่มีงานทำ ชีวิตก็จะยิ่งลำบากเพิ่มมากขึ้น ร้อยเท่าพันเท่า เพราะฉะนั้นจึงไม่อาจจะเรียกตรงนี้ว่าเป็นการ "ทำเงิน" ด้วยเหมือนกัน 

ความแตกต่างของคนที่ชอบ "ทำงาน" กับคนที่ชอบ "ทำเงิน" 

คนที่ชอบทำงาน...มักจะจัดอยู่ในกลุ่มประเภท "คนจน" จนในที่นี้อาจไม่ได้หมายถึงแค่จนทรัพย์ แต่หมายถึงจนปัญญาด้วย คือไม่รู้ว่า...ฉันจะพัฒนาตนเองไปได้อย่างไรที่จะทำให้คนอย่างฉัน มีเงินมีทองใช้อย่างเหลือเฟือ โดยที่ฉันไม่ต้องทำงานหนัก เมื่อเขาคิดว่า เขาสามารถทำได้แค่งานหนักๆ งานที่ต้องแลกกับหยาดเหงื่อแรงงานเท่านั้น...เขาก็จะเริ่มเข้าสู่สภาวะของการฝืนทนและฝืนทำ ความกระหายที่จะสุขสบายก็จะเพิ่มมากยิ่งขึ้น ความอยากได้ใคร่มีก็ไม่เคยจบสิ้น เขาจึงกลายเป็นคนที่จนทรัพย์สินและจนปัญญา มีแนวโน้มที่จะไปทำสิ่งที่ผิดกฏหมายและผิดศีลธรรมได้ดีกว่าคนที่ มั่งมีศรีสุข 
เพราะความจนทำให้คน "เห็นแก่ตัว" คนจนจึงไม่ค่อยมีทางเลือกมากนัก 

คนที่ชอบทำเงิน...มักจะอยู่ในกลุ่มของคนรวย เศรษฐี ผู้มีอันจะกิน นักธุรกิจและนังลงทุนก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ด้วยเหมือนกัน ถึงแม้ว่าคนรวยเหล่านั้น อาจจะไม่ได้รวยมาตั้งแต่เกิด แต่สิ่งที่พวกเขาไม่เคยอับจนเลยคือ "ปัญญา" เพราะพวกเขาจะคิดเสมอว่า การทำงานที่คุ้มค้านั้น มันต้องมีผลตอบแทนที่มั่นคงและยั่งยืน ไม่ใช่แค่การทำงานแล้วเหนื่อยฟรีไปทั้งชีวิต คนรวยจึงพยายามศึกษาหาต้นทุน กล้าเสี่ยง กล้าลงทุนเพื่อวันข้างหน้า อาจจะต้องยอมเหนื่อยไปก่อนในช่วงแรกๆ แต่คนร่ำรวยเหล่านี้มักจะเห็นภาพความมั่งมีชัดเจนมากในหัวสมอง และมั่นใจเสมอว่า ตนเองสามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จได้ในอนาคต 
เพราะฉะนั้น...ทัศนคติในแง่ลบ จึงไม่ค่อยปรากฏในความรู้สึกนึกคิดของคนกลุ่มนี้ หรือมีก็มักจะมองปัญหาเหล่านั้นเล็กน้อยเท่าขี้เล็บ ความอิสระในความคิดและการตัดสินใจจึงมีมากกว่า ทางเลือกในการใช้ชีวิตก็มีมากกว่าด้วย 


คนสารพัดขี้
https://www.facebook.com/khonsarapadkee
https://thestupidarticles.blogspot.com/

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บทนำสู่คำว่า "เงิน"





บทนำสู่คำว่า "เงิน" 

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ที่คนมุ่งทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งเงิน และเรียกทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำอยู่นั้นว่า "งาน" มองว่าการทำงานคือการทำเงิน ทั้งๆที่ในพจณานุกรม คำว่า "งาน" กับคำว่า "เงิน" นั้น ไม่ได้มีความหมายที่ตรงกันเลยสักนิด 
งาน...ว่าด้วยเรื่องของการกระทำ 
เงิน...ว่าด้วยเรื่องของวัตถุ 

แต่ผู้คนก็ยังเอาคำสองคำนี้มาเกี่ยวพันกันจนได้ กลายเป็นประโยคที่ว่า "งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข" ความหมายที่แฝงเร้นก็คือ "เมื่อเรามีงานเราก็จมีเงิน...เมื่อเรามีเงิน เราก็สามารถเอาเงินไปแลกเปลี่ยนกับอะไรก็ได้ที่ทำให้เรามีความสุข"   

เมื่ออยากมีความสุข จึงพากันโฟกัสไปที่การทำงาน...โดยนึกถึงธรรมชาติของชีวิตอีกอย่างหนึ่งว่า เมื่อเรามัวแต่ทำงาน สิ่งที่ได้มากที่สุดก็คืองาน คือทำอะไรก็ต้องได้สิ่งนั้น ทำงานได้งาน จะไปได้เงินได้ยังไง? แม้ทำงานเพื่อแลกกับเงิน แต่ให้สังเกตดูให้ดีๆเถิด ว่าขั้นตอนของการทำงานกับการทำเงินนั้นมันไม่เหมือนกันเลย 

เช่น...ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบทำขนม คุณคิดว่าคุณจะทำขนมขายเพื่อให้ได้มาซึ่งเงิน ทุกๆวันที่คุณตื่นขึ้นมา จิตใจของคุณวนเวียนอยู่กับการทำขนมเท่านั้น คุณจึงทำขนมเป็นชิ้นเป็นอัน และสิ่งที่คุณได้มาก็คือ "ขนม" ( เพราะคุณทำขนม ) แม้วัตถุประสงค์ของการทำขนมคือเงิน แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกๆวันที่คุณทำขนม คุณจะได้เงินเสมอไป เพราะระหว่างการทำขนมกับการทำเงินนั้น ไม่เหมือนกันเลย 

ถ้าคุณอยากได้เงิน คุณก็ต้องทำเงิน "ทำ" ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงให้คุณพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้เอง เพราะมันเป็นไปไม่ได้ แต่หมายถึงให้คุณนำสิ่งที่คุณมีไปแลกเปลี่ยนเป็น "เงิน" คุณทำขนม...คุณจึงนำขนมไปแลกเปลี่ยนกับเงิน แต่ถ้าคุณฉลาดมากกว่านั้น คุณจะรู้ว่าในชีวิตของคุณ ไม่ได้มีแค่ขนมเท่านั้นที่สามารถนำไปแลกกับเงินได้ 

ความรู้ความสามารถก็แลกได้เหมือนกัน แม้แต่ความรัก...ก็ยังแลกได้เลย เพราะฉะนั้นกระบวนการทำเงินที่ว่านี้ เป็นสิ่งที่น่าศึกษาและน่าสนใจมาก สำหรับผู้ที่อยากทำเงิน แต่ไม่ใช่ผู้ที่อยากทำงานนะ นั่นก็อีกประเด็นหนึ่ง เข้าตำราที่ว่า ว่านพืชเช่นใดย่อมได้เช่นนั้น 
แล้วสำนวนที่ว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วล่ะ?" 
มีใครหลายคน ไม่ยอมเชื่อวลีที่กล่าวเอาไว้แล้วนี้ เพราะคิดว่าทำดีจะต้องได้เงิน เมื่อทำดีแล้วไม่ได้ "เงิน" จึงหมดพลังศรัทธาที่จะทำความดีต่อไป...สาเหตุที่ผู้คนเหล่านั้น ทำดีแล้วไม่ได้เงิน เพราะไม่ยอมทำเงินไปพร้อมๆกันต่างหากล่ะ...เมื่อรุูปพฤติกรรมและทัศนคติเปลี่ยน วลีเด็ดจึงเปลี่ยนไปด้วยเหมือนกัน เช่น 

ำดีได้ดีมีที่ไหน 
ทำชั่วได้ดีมีถมไป 

คำว่า "ดี" กับคำว่า "ชั่ว" นั้น มันคนละความหมายกันเลย แต่ก็ยังเอามาโยงกันจนได้ เพราะเหตุของความไม่เข้าใจธรรมชาติของการกระทำ จึงทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป๋ไปหมด 

มันน่าจะถึงเวลาแล้ว ที่พวกเราชาวคน จะหันกลับมาแยกแยะถ้อยคำเหล่านี้ ให้ชัดเจนมากขึ้น ทีนี้ย้อนกลับมาที่สำนวน "ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน" 

อยากให้หันกลับมาโฟกัสที่คำว่า "งาน" กันใหม่...หากว่าคุณมัวแต่ก้มหน้าก้มตาทำแต่งานด้วยความเหน็ดเหนื่อย แต่ว่าเงินในกระเป๋าของคุณมีไม่มากพอ หรืออาจไม่มีเงินเก็บเลย คุณคิดว่าคุณจะยังมีคุณค่าในสายตาของคนอื่นอีกไหม แต่ถ้าคุณมีเงินเต็มกระเป๋า ( เต็มบัญชี ) ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ต้องทำงาน  

คุณคิดว่าใครจะมีคุณค่าในสายตาของคนอื่นมากกว่ากัน? 
จะพบว่าคนที่มี "เงิน" มากกว่านั้น มักจะมีอิทธิพลกับคนส่วนใหญ่มากกว่าคนเงินน้อย และอิทธิพลที่ว่านั้นจะเกิดขึ้นมาไม่ได้ ถ้าเกิดว่าคุณ ไม่มีคุณค่าในสายตาของคนอื่น จะเห็นได้ว่า "ค่าของคนอยู่ที่ผลของเงิน" ที่ผมได้กล่าวเอาไว้ก่อนหน้านั้น ไม่น่าจะเกินจริงไปนัก 

คนสารพัดขี้
https://www.facebook.com/khonsarapadkee

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ค่าของคนอยู่ที่ผลของ "เงิน"






่าของคนอยู่ที่ผลของ "เงิน" 
ปลี่ยนการทำงานเป็นการ "ทำเงิน" 
ก้าวไปสู่การทำเงินไม่ใช่การ "ทำงาน" 

อารัมภบท "ก่อนเขียน" 

จากสำนวนที่ว่า "ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน" หลายคนคงจะปลาบปลื้มยินดีไปกับเนื้อความที่ว่านี้ เพราะเป็นสำนวนที่บรรพบุรุษไทย ให้การยอมรับ ปรับใช้ ยึดเป็นแม่แบบให้กับเด็กและเยาวชนไทย จนได้ดิบได้ดีกันไปถ้วนหน้า ซึ่งค่าของคนอยู่ที่ผลของงานนั้น ได้มุ่งเน้นให้คนส่วนใหญ่โฟกัสไปที่คำว่า "งาน" หมายถึงพฤติกรรมที่ทำให้คนดูมีคุณค่า มีราคา สมน้ำสมเนื้อคู่ควรกับคำว่า "คน" 

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าคนส่วนใหญ่ ทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน ต่างก็ให้ความสำคัญกับการทำงาน เพราะถ้าเกิดว่าไม่ทำงาน หรือมีงานแต่ไม่ยอมทำ ก็เกรงว่าจะถูกชาวประชา ชาปแช่ง หมิ่นประณามเอาได้ ว่าเป็น "คน" ที่ดีแต่เปลือก ส่วนข้างในนั้นเป็นตัวอะไร? ก็ไม่รู้!!! 

ด้วยเหตุนี้...ผู้คนส่วนใหญ่จึงเหมือนถูกสะกดจิตให้ง่วนอยู่กับการทำงาน เพื่อรักษาเสถียรภาพของความเป็นมนุษย์ และอาจจะรวมถึงการรักษาใบหน้าเข้าไปด้วย 

โดยลืมคิดไปว่า...ความจริงของชีวิตนั้น มันไม่ได้สวยงามอย่างที่คิด แม้บางคนจะก้มหน้าก้มตาทำงานไปทั้งชีวิต แต่หาได้มีเงินเก็บ หรือเก็บเกี่ยวเอาความสุขระหว่างการทำงานได้อย่างครบถ้วน หลายครั้งที่งานทำให้คนมีปัญหา ทำให้คนหมดศรัทธาในตนเอง ทำให้เกิดความสับสนมึนงนกับการใช้ชีวิต เพราะไม่สามารถจะแจกจ่ายวันเวลาไปยังบุคคลอันเป็นที่รักได้ จนต้องทะเลาะเบาะแว้งกับคนในครอบครัว ด้วยเหตุที่ว่า "ฉันต้องทำงาน!!!" ทำให้ความสุขความสำเร็จ อันเป็นเป้าหมายของชีวิตมนุษย์ ต้องสูญหายไปพร้อมกับการทำงาน จนไม่สามารถจะหันกลับมาเยียวยาให้ดีเช่นเดิมได้  

"งาน" ทำให้คุณค่าของความเป็นคนค่อยๆหายไป และทำให้ผู้เขียนเริ่มจะสับสนขึ้นมาแล้วว่า "ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน" จริงหรือเปล่า? หรืออยู่ที่อะไรกันแน่ เราลองมาช่วยกันวิเคราะห์เจาะลึกกันดู 

คนสารพัดขี้
https://www.facebook.com/khonsarapadkee

ติชม ด่าทอ สาปแช่ง บอกรัก