วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บทนำสู่คำว่า "เงิน"





บทนำสู่คำว่า "เงิน" 

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ที่คนมุ่งทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งเงิน และเรียกทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำอยู่นั้นว่า "งาน" มองว่าการทำงานคือการทำเงิน ทั้งๆที่ในพจณานุกรม คำว่า "งาน" กับคำว่า "เงิน" นั้น ไม่ได้มีความหมายที่ตรงกันเลยสักนิด 
งาน...ว่าด้วยเรื่องของการกระทำ 
เงิน...ว่าด้วยเรื่องของวัตถุ 

แต่ผู้คนก็ยังเอาคำสองคำนี้มาเกี่ยวพันกันจนได้ กลายเป็นประโยคที่ว่า "งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข" ความหมายที่แฝงเร้นก็คือ "เมื่อเรามีงานเราก็จมีเงิน...เมื่อเรามีเงิน เราก็สามารถเอาเงินไปแลกเปลี่ยนกับอะไรก็ได้ที่ทำให้เรามีความสุข"   

เมื่ออยากมีความสุข จึงพากันโฟกัสไปที่การทำงาน...โดยนึกถึงธรรมชาติของชีวิตอีกอย่างหนึ่งว่า เมื่อเรามัวแต่ทำงาน สิ่งที่ได้มากที่สุดก็คืองาน คือทำอะไรก็ต้องได้สิ่งนั้น ทำงานได้งาน จะไปได้เงินได้ยังไง? แม้ทำงานเพื่อแลกกับเงิน แต่ให้สังเกตดูให้ดีๆเถิด ว่าขั้นตอนของการทำงานกับการทำเงินนั้นมันไม่เหมือนกันเลย 

เช่น...ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบทำขนม คุณคิดว่าคุณจะทำขนมขายเพื่อให้ได้มาซึ่งเงิน ทุกๆวันที่คุณตื่นขึ้นมา จิตใจของคุณวนเวียนอยู่กับการทำขนมเท่านั้น คุณจึงทำขนมเป็นชิ้นเป็นอัน และสิ่งที่คุณได้มาก็คือ "ขนม" ( เพราะคุณทำขนม ) แม้วัตถุประสงค์ของการทำขนมคือเงิน แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกๆวันที่คุณทำขนม คุณจะได้เงินเสมอไป เพราะระหว่างการทำขนมกับการทำเงินนั้น ไม่เหมือนกันเลย 

ถ้าคุณอยากได้เงิน คุณก็ต้องทำเงิน "ทำ" ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงให้คุณพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้เอง เพราะมันเป็นไปไม่ได้ แต่หมายถึงให้คุณนำสิ่งที่คุณมีไปแลกเปลี่ยนเป็น "เงิน" คุณทำขนม...คุณจึงนำขนมไปแลกเปลี่ยนกับเงิน แต่ถ้าคุณฉลาดมากกว่านั้น คุณจะรู้ว่าในชีวิตของคุณ ไม่ได้มีแค่ขนมเท่านั้นที่สามารถนำไปแลกกับเงินได้ 

ความรู้ความสามารถก็แลกได้เหมือนกัน แม้แต่ความรัก...ก็ยังแลกได้เลย เพราะฉะนั้นกระบวนการทำเงินที่ว่านี้ เป็นสิ่งที่น่าศึกษาและน่าสนใจมาก สำหรับผู้ที่อยากทำเงิน แต่ไม่ใช่ผู้ที่อยากทำงานนะ นั่นก็อีกประเด็นหนึ่ง เข้าตำราที่ว่า ว่านพืชเช่นใดย่อมได้เช่นนั้น 
แล้วสำนวนที่ว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วล่ะ?" 
มีใครหลายคน ไม่ยอมเชื่อวลีที่กล่าวเอาไว้แล้วนี้ เพราะคิดว่าทำดีจะต้องได้เงิน เมื่อทำดีแล้วไม่ได้ "เงิน" จึงหมดพลังศรัทธาที่จะทำความดีต่อไป...สาเหตุที่ผู้คนเหล่านั้น ทำดีแล้วไม่ได้เงิน เพราะไม่ยอมทำเงินไปพร้อมๆกันต่างหากล่ะ...เมื่อรุูปพฤติกรรมและทัศนคติเปลี่ยน วลีเด็ดจึงเปลี่ยนไปด้วยเหมือนกัน เช่น 

ำดีได้ดีมีที่ไหน 
ทำชั่วได้ดีมีถมไป 

คำว่า "ดี" กับคำว่า "ชั่ว" นั้น มันคนละความหมายกันเลย แต่ก็ยังเอามาโยงกันจนได้ เพราะเหตุของความไม่เข้าใจธรรมชาติของการกระทำ จึงทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป๋ไปหมด 

มันน่าจะถึงเวลาแล้ว ที่พวกเราชาวคน จะหันกลับมาแยกแยะถ้อยคำเหล่านี้ ให้ชัดเจนมากขึ้น ทีนี้ย้อนกลับมาที่สำนวน "ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน" 

อยากให้หันกลับมาโฟกัสที่คำว่า "งาน" กันใหม่...หากว่าคุณมัวแต่ก้มหน้าก้มตาทำแต่งานด้วยความเหน็ดเหนื่อย แต่ว่าเงินในกระเป๋าของคุณมีไม่มากพอ หรืออาจไม่มีเงินเก็บเลย คุณคิดว่าคุณจะยังมีคุณค่าในสายตาของคนอื่นอีกไหม แต่ถ้าคุณมีเงินเต็มกระเป๋า ( เต็มบัญชี ) ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ต้องทำงาน  

คุณคิดว่าใครจะมีคุณค่าในสายตาของคนอื่นมากกว่ากัน? 
จะพบว่าคนที่มี "เงิน" มากกว่านั้น มักจะมีอิทธิพลกับคนส่วนใหญ่มากกว่าคนเงินน้อย และอิทธิพลที่ว่านั้นจะเกิดขึ้นมาไม่ได้ ถ้าเกิดว่าคุณ ไม่มีคุณค่าในสายตาของคนอื่น จะเห็นได้ว่า "ค่าของคนอยู่ที่ผลของเงิน" ที่ผมได้กล่าวเอาไว้ก่อนหน้านั้น ไม่น่าจะเกินจริงไปนัก 

คนสารพัดขี้
https://www.facebook.com/khonsarapadkee

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ติชม ด่าทอ สาปแช่ง บอกรัก