วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พรสวรรค์สู่การ "ทำเงิน"



พรสวรรค์สู่การ "ทำงิน" 

"พรสวรรค์" คือสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่ก่อนเกิด เพราะฉะนั้น การทำเงินก็อาจจะติดตัวมาตั้งแต่ก่อนเกิดด้วยเหมือนกัน 
ทำ...คือความคิด คำพูดและการกระทำ ( ที่นำมาซึ่งเงิน ) 
เงิน...คือวัตถุสมมติที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน 
"เงิน" ก็เหมือนกับคนและสัตว์ทั่วๆไป คือชอบอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สุขสบาย ไร้ปัญหา เงินจึงมักเดินทางไปอยู่กับคนที่มีน้ำใจ มากกว่าคนเห็นแก่ตัว เพราะคนที่เห็นแก่ตัวนั้น จะไม่แยแสผู้ใด รวมทั้งคน สัตว์ สิ่งของที่อยู่รอบตัวด้วย ดังนั้น...เราพึงศึกษาพฤติกรรมที่นำมาซึ่งเ "เงิน" 

1.รักในสิ่งที่ทำ...ในเมื่อคุณจะทำเงิน คุณก็ต้อง "รักเงิน" รักด้วยความสุจริตใจ การรักเงินก็เหมือนกับการรักคน เมื่อเราได้ครอบครองบุคคลอันเป็นที่รักแล้ว เราก็อยากจะปกป้อง คุ้มครอง มอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับเขา เช่นปัจจัย 4 ที่ละเอียดประณีต "เงิน" ก็เช่นเดียวกัน เงินต้องการปัจจัย 4 ที่ละเอียดประณีต ต้องการการดูแลเอาใจใส่จากผู้ที่เป็นเจ้าของ ต้องการให้เจ้าของเงินแสดงความรักความห่วงใยให้กับเงิน เมื่อเงินมีความสุขที่ได้อยู่กับคนแล้ว "เงิน" ก็จะเชิญชวน ญาติสนิทมิตสหาย สัมพันธชน มาอยู่ในกระเป๋าเงินใบเดียวกันนั้นด้วย จนกระทั่งเจ้าของเงินหากระเป๋าใหม่แทบไม่ทันเลยที่เดียว 

รักเงินรักยังไง? 
1.เงินสกปรก...ทำให้สะอาด 
2.เงินยับ...ทำให้เรียบ 
3.เงินกองระเกะระกะ...ทำให้เป็นระเบียบ  
4.เงินที่ถูกพับตรงหัวมุม...กรีดให้เข้าที่ 
5.เงินที่ถูกม้วน...คลี่ให้ออก 
6.เงินเก่าเงินใหม่...เรียงพี่เรียงน้องให้ดี 
7.อย่าโยนเงิน...จงเคลื่อนย้ายเงินอย่างสุภาพนุ่มนวล 
8.อย่ายัดเยียดเงินลงไปในที่ลับ ของต่ำหรือของสกปรก...เช่น กางเกงใน ถุงเท้า ร่องตูดหรือหลืบ_ี  เป็นต้น 
9.หมั่นทำความสะอาด และเหยาะน้ำหอมลงไปในกระเป๋าเงิน ( บ้างก็ดี ) 

2.เพียรพยายามในสิ่งที่ทำ...แค่การรักเงินอย่างเดียว ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะมีเงินเข้ามาอยู่ในกระเป๋าเลยทันที ณ จุดนี้ "คุณ" ต้องพิสูจน์ตัวเอง และแสดงให้เงินได้เห็นว่า คุณรักและอยากใช้ชีวิตอยู่กับเงินมากเพียงใด ในขั้นตอนนี้คุณอาจต้องแลกกับทรัพย์สมบัติอันล้ำค่าบางอย่าง เพื่อให้ได้มาซึ่งเงิน...อุปมาเหมือนกับการสู่ขอหญิงสาวมาเป็นลูกสะใภ้นั่นแหละ ก็ต้องแลกเปลี่ยนกับเงินทองของมีค่า และบุตรชายอันเป็นที่รักดั่งแก้วตาดวงใจ แต่ในเมื่อคุณเห็นคุณค่าของหญิงสาวผู้นั้น คุณจึงพิสูจน์ให้ฝ่ายตรงข้ามเห็นว่า คุณรักและเอ็นดูบุตรีของเขาไม่น้อยไปกว่าบุตรชายของตัวเอง 
ซึ่งขั้นตอนการพิสูจน์ตัวเองนี้...จะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า หรือว่าสุขสบาย ก็ขึ้นอยู่กับวิบากกรรมของแต่ละคน แต่สุดท้ายก็จะจบลงด้วยความปรีดี ( แฮปปี้ ) 

3.มีเป้าหมายที่ชัดเจน...ในขั้นตอนนี้ ถ้าคุณรักเงิน อยากได้เงินและอยากใช้เงิน คุณก็ต้องเอาใจใส่เงินมากเป็นพิเศษ คือมีจิตจดจ่ออยู่ที่ตัวเงินนั่นเอง...แม้ว่าตอนนี้คุณจะได้เงินหรือไม่ได้เงินก็ตาม จงมองไปที่ภาพสำเร็จ ทำความรู้สึกประหนึ่งว่า "คุณ" มีเงินอยู่ในครอบครองแล้ว จงทำจิตใจให้ผ่องใส เบิกบาน ราวกับเป็นผู้ที่ครอบครองทรัพย์สมบัติมหาศาล เมื่อคุณมีจิตจดจ่ออยู่ที่เงิน ก็จะไม่มีสิ่งอื่นใด โน้มเอียงจิตใจของคุณได้ในระหว่างที่คุณกำลังทำเงิน หรือเดินทางไปหาตัวเงินอยู่ แล้วเมื่อนั้นคุณก็จะได้ครอบครอบ "เงิน" สมใจปรารถนา 
4.เข้าใจในสิ่งที่ทำ...เมื่อคุณคิดจะทำเงิน คุณก็ต้องเข้าใจให้ได้ด้วยว่า คุณทำเงินไปเพื่ออะไร เพราะถ้าเกิดว่าคุณไม่เข้าใจผลลัพธ์หรือเป้าหมายของการทำเงิน คุณอาจจะเบื่อหน่าย เกียจคร้านที่จะทำเงินได้ในที่สุด แล้วคุณก็อาจจะหันกลับไปทำงานเหมือนเดิม ซึ่งมันเป็นขั้นตอนที่ละเอียด ลึกซึ้ง 
เมื่อคุณได้ศึกษาแล้วว่าการทำงานกับการทำเงินนั้น แตกต่างกันยังไง คุณย่อมรู้ดีอยู่แล้วว่า แม้คุณจะทำอะไรก็ตาม สิ่งที่คุณทำลงไปก็เพื่อให้ได้มาซึ่ง "เงิน" แล้วหลังจากนั้น คุณก็สามารถนำเงินที่คุณหามาได้ ไปแลกเปลี่ยนกับคน สัตว์ สิ่งของที่คุณอยากได้ แต่กระบวนการทำเงินนั้น จะเป็นเสมือนเส้นทางลัด ที่ทำให้คุณไม่ต้องสิ้นเปลืองเรี่ยวแรง หรือหยาดเหงื่อแรงงานมากไปกว่าการทำงานทั่วๆไป 
ดังนั้น...การทำเงิน จึงเป็นเป้าหมายที่สูงสุดในชีวิตประจำวันของคน ที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่กับการ "กิน ขี้ ปี้ นอน" หรือแม้แต่คน สัตว์ สิ่งของอันเป็นที่รัก...ไม่มีสิ่งใดที่จะให้สิ่งที่รักได้ดีเท่ากับการ "ทำเงิน" อีกแล้ว ไม่มี!!! 

คนสารพัดขี้ 
https://www.facebook.com/khonsarapadkee

วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ความแตกต่างระหว่าง "การทำงานกับการทำเงิน"






ความแตกต่างระหว่างการทำงานกับการทำเงิน 

มีหลายครั้งที่คนเรา ไม่สามารถแยกการทำงานออกจากการทำเงินได้ เนื่องจากงานกับเงิน มีลักษณะที่คล้ายคลึง เหมือนพี่น้องพ่อเดียวกัน แต่อาจจะเกิดกันคนละแม่ วิสัยทัศน์จึงค่อนข้างจะต่างกัน ทำให้เส้นทางชีวิตดำเนินกันไปคนทิศทาง ( คนหนึ่งจน อีกคนรวย ) 
ในหัวข้อนี้ เราจะมาทำการวิเคราะห์เจาะลึกความแตกต่างระหว่าง การทำงานกับการทำงเงิน เพื่อที่เราจะได้นำไปเป็นแนวทางในการศึกษา 

การทำงาน...คือการก้มหน้าก้มตาทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่ง "เงิน" แต่จะได้หรือไม่นั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่สิ่งที่ได้มาแน่นอนก็คืองาน ได้ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า วันเวลาที่เสียไป และได้ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาด คือความไม่รู้หรือไม่เต็มใจทำ "เรียกว่าการทำงาน" 

การทำเงิน...คือการก้มหน้าก้มตาทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่ง "เงิน" และสิ่งที่ได้แน่นอนคือเงิน เพราะทำเงินก็ต้องได้เงิน แต่มีข้อแม้อยู่ว่า 
1.สิ่งที่ทำอยู่นั้น...ต้องเป็นสิ่งที่รัก 
2.สิ่งที่ทำอยู่นั้น...ต้องไม่ใช่สิ่งที่ผิดกฏหมาย 
3.สิ่งที่ทำอยู่นั้น...ต้องไม่ใช่สิ่งที่ผิดศีลธรรม 

1.ถ้าเราทำในสิ่งที่รักหรือเต็มใจ... เราก็จะทำสิ่งเหล่านั้นออกมาได้ไม่ดี แล้วค่าตอบแทนที่ได้มาก็จะสมน้ำสมเนื้อกับสิ่งที่ทำลงไป คือไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย อาจจะทำให้เหน็ดเหนื่อยหรือสูญเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ จึงไม่สามารถจะเรียกสิ่งที่ทำอยู่นั้นว่า "เป็นการทำเงิน" ไม่ได้ 

2.ถ้าเราทำในสิ่งที่ผิดกฏหมาย...ถึงแม้เราอาจจะมีเงินทองกองพะเนิน มีเงินร้อยล้านพันล้านอยู่เต็มบัญชี ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะมีโอกาสได้ใช้เงินทั้งหมดนั้นอย่างเต็มที่เต็มกำลัง เพราะถึงยังไง เมื่อทำผิดกฏหมาย สมบัติทั้งหมดก็จะถูกอายัดหรือยึดไว้ เป็นต้น 

3.ถ้าเราทำสิ่งที่ผิดศีลธรรม...ก็จะมีวิบากกรรมตามมาส่งผล ทำให้กลายเป็นคนที่อับจนข้นแค้น ไม่มีอันจะกิน ไม่มีงานทำ ชีวิตก็จะยิ่งลำบากเพิ่มมากขึ้น ร้อยเท่าพันเท่า เพราะฉะนั้นจึงไม่อาจจะเรียกตรงนี้ว่าเป็นการ "ทำเงิน" ด้วยเหมือนกัน 

ความแตกต่างของคนที่ชอบ "ทำงาน" กับคนที่ชอบ "ทำเงิน" 

คนที่ชอบทำงาน...มักจะจัดอยู่ในกลุ่มประเภท "คนจน" จนในที่นี้อาจไม่ได้หมายถึงแค่จนทรัพย์ แต่หมายถึงจนปัญญาด้วย คือไม่รู้ว่า...ฉันจะพัฒนาตนเองไปได้อย่างไรที่จะทำให้คนอย่างฉัน มีเงินมีทองใช้อย่างเหลือเฟือ โดยที่ฉันไม่ต้องทำงานหนัก เมื่อเขาคิดว่า เขาสามารถทำได้แค่งานหนักๆ งานที่ต้องแลกกับหยาดเหงื่อแรงงานเท่านั้น...เขาก็จะเริ่มเข้าสู่สภาวะของการฝืนทนและฝืนทำ ความกระหายที่จะสุขสบายก็จะเพิ่มมากยิ่งขึ้น ความอยากได้ใคร่มีก็ไม่เคยจบสิ้น เขาจึงกลายเป็นคนที่จนทรัพย์สินและจนปัญญา มีแนวโน้มที่จะไปทำสิ่งที่ผิดกฏหมายและผิดศีลธรรมได้ดีกว่าคนที่ มั่งมีศรีสุข 
เพราะความจนทำให้คน "เห็นแก่ตัว" คนจนจึงไม่ค่อยมีทางเลือกมากนัก 

คนที่ชอบทำเงิน...มักจะอยู่ในกลุ่มของคนรวย เศรษฐี ผู้มีอันจะกิน นักธุรกิจและนังลงทุนก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ด้วยเหมือนกัน ถึงแม้ว่าคนรวยเหล่านั้น อาจจะไม่ได้รวยมาตั้งแต่เกิด แต่สิ่งที่พวกเขาไม่เคยอับจนเลยคือ "ปัญญา" เพราะพวกเขาจะคิดเสมอว่า การทำงานที่คุ้มค้านั้น มันต้องมีผลตอบแทนที่มั่นคงและยั่งยืน ไม่ใช่แค่การทำงานแล้วเหนื่อยฟรีไปทั้งชีวิต คนรวยจึงพยายามศึกษาหาต้นทุน กล้าเสี่ยง กล้าลงทุนเพื่อวันข้างหน้า อาจจะต้องยอมเหนื่อยไปก่อนในช่วงแรกๆ แต่คนร่ำรวยเหล่านี้มักจะเห็นภาพความมั่งมีชัดเจนมากในหัวสมอง และมั่นใจเสมอว่า ตนเองสามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จได้ในอนาคต 
เพราะฉะนั้น...ทัศนคติในแง่ลบ จึงไม่ค่อยปรากฏในความรู้สึกนึกคิดของคนกลุ่มนี้ หรือมีก็มักจะมองปัญหาเหล่านั้นเล็กน้อยเท่าขี้เล็บ ความอิสระในความคิดและการตัดสินใจจึงมีมากกว่า ทางเลือกในการใช้ชีวิตก็มีมากกว่าด้วย 


คนสารพัดขี้
https://www.facebook.com/khonsarapadkee
https://thestupidarticles.blogspot.com/

ติชม ด่าทอ สาปแช่ง บอกรัก